วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ข้อควรระวังในการล้างมือ


ข้อควรระวังเกี่ยวกับการล้างมือ
  • ผ้าเช็ดมือควรจะใช้สำหรับคนแต่ละคน ไม่ควรใช้ร่วมกัน
  • ให้ใช้ผ้าหรือกระดาษที่ใช้ครั้งเดียว
  • ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดมือชนิดใช้ผืนเดียวแขวนไว้ทั้งวัน
  • ไม่ต้องใช้ฟองน้ำ หรือผ้าในการล้างมือ เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจจะมีเชื้อโรคอยู่
  • ที่วางสบู่แบบก้อน ก็ควรระบายน้ำไม่ให้ไปขังในจุดวางสบู่
  • หากใช้สบู่เหลวหรือสบู่ยาก็ต้องมีการทำความสะอาดขวดที่ใส่   
ข้อแนะนำสำหรับการล้างมือในเด็ก
  • ฝึกเด็กให้เป็นนิสัยโดยให้ล้างมือ ก่อนรับประทานอาหาร หลังจากเข้าห้องน้ำ หลังจากเล่น หลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยง หลังจากไอหรือจาม
  • ต้องสอนให้เด็กเห็นวิธีการล้างมืออย่างถูกต้อง

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิธีการล้างมือ 7 ขั้นตอน

1. ฝ่ามือถูกัน

2. ฝ่ามือถูหลังมือและซอกนิ้วมือ

3. ฝ่ามือถูกฝ่ามือและซอกนิ้วมือ

4. หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ

5. ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ

6. ปลายนิ้วถูฝ่ามือ

7. ถูรอบข้อมือ

***และทุกขั้นตอนทำ 5 ครั้ง สลับกันทั้ง 2 ข้าง***
 ควรล้างมือเมื่อไหร่
1.หลังการไอหรือจาม หรือไปสัมผัสสารคัดหลั่งมือเมื่อไหร่ของผู้ป่วย
2.ก่อนและหลังรับประทานอาหาร
3.ก่อนและหลังการเตรียมอาหาร
4.ก่อนและหลังการเข้าห้องนํ้า
5.ก่อนและหลังการสูบบุหรี่
6.ก่อนและหลังการทำงาน
7.เมื่อกลับจากทำงาน
ความสำคัญของการล้างมือ
มือเป็นสิ่งที่เราใช้ตลอดเวลาและโรคหลายโรคก็ติดต่อทางมือโดยมือเป็นตัวนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย การล้างมือเป็นวิธีการป้องกันโรคติดเชื้อทั้งทางเดินหายใจและการสัมผัส
 โรคติดเชื้อที่ติดต่อผ่านทางมือที่พบบ่อยๆคือ
1.โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ โรคหัด หัดเยอรมัน
2.โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย โรคตับอักเสบชนิดเอ โรคบิด อหิวาตกโรค
โรคพยาธิชนิดต่างๆซึ่งติดต่อได้จากการที่มือปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้แล้วหยิบจับอาหารเข้าไป
3.โรคติดต่อทางการสัมผัสโดยตรง เช่น โรคตาแดง โรคเชื้อรา แผลอักเสบที่ผิวหนัง หิด เหา โรคเริม
4.โรคที่ติดต่อได้หลายทาง เช่น โรคอีสุกอีใสอาจติดต่อได้จากการสัมผัสและจากการหายใจ



ที่มา: http://guru.sanook.com/pedia/topic/7_%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87/

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มือนั้นสำคัญซะไหน

       

        มือของคนเราเป็นอวัยวะที่สำคัญทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ใช้หยิบจับตั้งแต่สิ่งสกปรกมากที่สุดถึงหยิบจับสิ่งที่ต้องสะอาดมากที่สุดเช่นกัน เช่น ใช้มือสัมผัสอุจจาระเวลาเข้าห้องส้วม แคะขี้มูก หยิบอาหารใส่ปาก ใส่คอนแทคเลนส์ เป็นต้น ในแต่ละวันเราใช้มือทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย จนอาจลืมนึกถึงว่า มือเราสะอาดแค่ไหน หากเราสามารถมองเห็นเชื้อโรคด้วยตาเปล่า เราส่องดูมือจะเห็นว่ามือที่คิดว่าสะอาดแล้ว  ยังมีสิ่งที่สกปรกมากมาย ติดอยู่ตามนิ้วมือ โดยเฉพาะบริเวณตามนิ้วมือ นิ้วโป้ง และตามซอกนิ้ว ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยที่ร้ายแรงได้ ได้แก่ พยาธิต่าง ๆ แบคทีเรียที่สร้างสารพิษในแผล ฝี หนอง เชื้อโรคในอุจาระ เช่น เชื้ออหิวาตกโรค บิด ไทฟอยด์ ตับอักเสบ และไวรัสร้ายแรงในน้ำมูก น้ำลาย เช่น ซาร์ส เป็นต้น




          ปัจจุบัน โรคติดต่อหลายชนิดที่เกิดขึ้นใหม่ทำให้เกิดการตื่นตัวทางการป้องกันโรคมากขึ้น มีการป้องกันการติดเชื้อทางด้านต่างๆทั้งทางด้านอาหาร น้ำ สิ่งแวดล้อม การใช้เครื่องมือเพื่อป้องกันโรคเช่นผ้าปิดจมูก ถุงมือ หรือความแพร่หลายของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยเช่นสบู่ฆ่าเชื้อ สเปรย์ฆ่าเชื้อแต่หากพิจารณาจากความคุ้มค่าคุ้มราคากับวิธีการป้องกันโรคติดต่อ เห็นจะไม่มีวิธีใดที่ดีไปกว่า "การล้างมือ

 การล้างมืออย่างมืออาชีพมีประเด็นที่ต้องคำนึงถึงดังนี้

       
(1). ฝึกล้างอย่างเป็นระบบ
การล้างมืออย่างเป็นระบบ (systematic) ให้ครบทุกขั้นตอนทั้ง 7 ขั้นตอนข้างต้นจะช่วยให้ล้างได้ครบทุกส่วน (completeness / thoroughness คล้ายๆ กับการแปรงฟันให้ถูกวิธี)
(2). ใช้สบู่
การล้างมือให้ถูกวิธีจำเป็นต้องใช้สบู่ เพื่อช่วยกำจัดคราบไขมันจากต่อมไขมัน เศษผิวหนัง และสิ่งสกปรกออก จะใช้สบู่อะไรก็ได้ แต่ถ้าจะให้ดี... ควรเป็นสบู่เหลวหรือสบู่แห้งที่ไม่แช่น้ำ สบู่ที่แช่น้ำหรือมีน้ำขังอาจเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคได้ จึงควรวางสบู่ให้น้ำไหลออก หรือ "สะเด็ด" น้ำออกได้ และควรวางไว้ในที่ที่มีการระบายอากาศดี เพื่อให้สบู่มีโอกาสแห้งบ้าง สบู่ยาหรือสบู่ผสมยาฆ่าเชื้อไม่ได้ช่วยให้การล้างมือสะอาดขึ้น ทว่า... เวลาล้างมือที่นานพอมีความสำคัญมากกว่า
(3). ล้างก๊อก
ถ้าล้างมืออย่างเดียวโดยไม่ล้างก๊อกน้ำ... เชื้อโรคอาจจะไปสะสม หรือหลบซ่อนอยู่ที่ก๊อกน้ำ และกลับมาติดมือหลังล้างมือเสร็จอีกต่อหนึ่ง
(4). ล้างก่อน
ล้างมือก่อนกินอาหาร ก่อนดื่มน้ำ ก่อนทำกับข้าวหรือเตรียมอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีคนที่มีภูมิต้านทานต่ำอยู่ที่บ้าน เช่น คนสูงอายุ(เกิน 60 ปี) เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี คนที่ปลูกถ่ายอวัยวะ คนไข้มะเร็ง คนไข้เอดส์ ฯลฯ
ถ้าออกไปนอกบ้าน... พวกเราอาจจะติดเชื้อ เช่น เสมหะคนเป็นหวัดอาจจะติดที่ลูกบิดประตู บันไดรถเมล์ ฯลฯ และอาจพาเชื้อเข้าบ้าน ทางที่ดีคือ ล้างมือด้วยสบู่ก่อนเข้าบ้านทุกครั้ง
ถ้าชอบอ่านหนังสือ หรือหนังสือพิมพ์... จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องล้างมือก่อนกินอาหาร หรือดื่มน้ำ เพื่อลดการได้รับโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ฯลฯ ในหมึกพิมพ์

 (5). ล้างหลัง
ล้างมือด้วยสบู่หลังออกจากห้องน้ำหรือห้องส้วมทุกครั้ง เพื่อลดการแพร่เชื้อโรคทางเดินอาหาร
ถ้าเป็นหวัด ไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่... พวกเรามีส่วนช่วยชาติได้ โดยการล้างมือด้วยสบู่หลังไอ จาม หรือเขี่ยจมูก(เวลาคันจมูก)ทุกครั้ง เพื่อลดการแพร่เชื้อโรคผ่านเสมหะติดมือไปยังคนอื่น

(6). ตัดเล็บ
ตัดเล็บมือให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรคที่เล็บ การตัดเล็บมือให้ตัดเป็นรูปโค้งตามรูปปลายนิ้วมือ แต่ถ้าจะตัดเล็บเท้า... อย่าตัดเป็นรูปโค้ง ให้ตัดเป็นรูปตรงหรือรูปคล้ายปลายจอบ การตัดเล็บเท้ารูปโค้งอาจทำให้เกิดโรคเล็บขบ ทำให้เกิดอาการเจ็บ การอักเสบ หรือแผลที่จมูกเล็บ (ด้านข้างเล็บ) ได้

(7). ล้างให้นานพอ
กล่าวกันว่า ถ้าจะล้างมือให้สะอาด และครบทุกส่วน คงต้องใช้เวลาพอๆ กับการแปรงฟันคือ 2-3 นาที
ระยะเวลานาน 2-3 นาทีนี้... อาจารย์หมอฝรั่งท่านแนะนำว่า นานพอๆ กับการร้องเพลง "จิงเกิลเบล (jingle bells)" 2 จบ ระยะเวลาดังกล่าวน่าจะเทียบกับเพลงชาติไทย ลอยกระทง หรือ "ช้างๆๆ (เพลงสุดฮิตสำหรับคนที่ร้องเพลงอะไรแทบไม่เป็นเลย)" ประมาณ 1 จบ


  ที่มา:http://gotoknow.org/blog/hhc/118046